Picture from www.freepik.com


Picture from www.freepik.com


สิว: ที่ไม่ใช่แค่เรื่อง "สิวสิว"


เพราะ สิว เกิดได้จากหลายสาเหตุร่วมกัน ทั้งฮอร์โมน พฤติกรรม และอื่นๆ

โดยการ"รักษาสิว" ใช้เวลานานหลักดือนถึงปี ระหว่างการรักษาอาจมีกลับเป็นซ้ำได้ โดยเฉพาะในบางช่วงอายุ ความเข้าใจในตัวโรครวมถึงความสม่ำเสมอในการใช้ยาอย่างถูกต้อง เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการรักษาสิวหายขาด เราจึงพยายามเน้นหาสาเหตุ รวมถึงอธิบายการใช้ยาและการดูแลตนเองร่วมด้วยทุกครั้ง เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


สาเหตุของสิว


สิวเกิดขึ้นจากกลไกหลักๆดังนี้:


  • การผลิตน้ำมันส่วนเกิน: ต่อมน้ำมันผลิตน้ำมันมากเกินไป
  • การอุดตันของรูขุมขน: มีการสร้างเคราตินมากไปจนรูขุมขนอุดตัน
  • เสียสมดุลของจุลินทรีย์ของผิว: แบคทีเรีย Cutibacterium acnes (C. acnes) ที่อยู่ในรูขุมขนเพิ่มมากขึ้นจนกระตุ้นการอักเสบก่อเกิดเป็นสิว

ปัจจัยอื่นๆ: การเปลี่ยนแปลงของแอนโดรเจนที่เพิ่มขึ้นทำให้ต่อมน้ำมันทำงานมากขึ้น ยาบางชนิด อาหาร ความเครียด พันธุกรรม อาจส่งเสริมให้สิวเห่อขึ้นได้


ประเภทของสิว


สิวอุดตัน (Comedones) เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน

  • สิวหัวเปิด (blackheads)
  • สิวหัวปิด (whiteheads)

สิวอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและการอักเสบของรูขุมขน

  • สิวตุ่มแดง (Papules): เป็นตุ่มสีแดงเล็กๆ ที่เกิดจากการอักเสบของรูขุมขน
  • สิวหัวหนอง (Pustules): เป็นตุ่มสีแดงที่มีหนองอยู่ภายใน
  • สิวหัวช้าง (Nodules): เป็นก้อนแข็งที่เกิดจากการอักเสบที่ลึกลงไปในผิวหนังด้านใน




หลักการรักษาสิว


  • Clear สิวอักเสบและการอุดตันเดิม
  • Stop คุมการเกิดสิวใหม่
  • Prevent ป้องกันการเกิดหลุมสิว เพราะสิวอักเสบลึก สามารถทำให้เกิดหลุมสิวตามมาได้

ดังนั้นแพทย์จะพยายามรักษาการอักเสบให้หายเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้


การรักษาสิวขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของสิว โดยการรักษาหลัก ได้แก่


  • ยาทา: ยากลุ่ม Benzyl peroxide(BP) Retinoid
  • ยารับประทาน: ยาปฏิชีวนะ หรือ ยา isotretinoin


การรักษาเสริมอื่นๆ (adjunctive treatment)

  • การรักษาด้วยเลเซอร์และแสง (EBDs): ช่วยลดการอักเสบ ลดจำนวนเชิื้อสิว รอยแดง รอยดำ
  • กรดผลไม้ เช่น Salicylic acid , กลุ่ม AHA
  • การกดสิวอุดตัน
  • การฉีดสิวอักเสบ


การป้องกันสิวด้วยตัวเองเบื้องต้น


1. รักษาความสะอาด: ล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม โดยเฉพาะหลังแต่งหน้า

ควรทำความสะอาดเครื่องสำอางค์ออกให้ได้มากที่สุด

2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้า: ไม่จับใบหน้าบ่อยๆ

3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่อุดตันรูขุมขน: ใช้เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ไม่ก่อให้เกิดสิว

4. รักษาความสมดุลของฮอร์โมน: ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ









In courstesy of Fitzpatrick Dermatology and Bolognia Dermatology

"สิว" แค่ไหนควรพบแพทย์



สิวรุนแรงน้อย อาจลองปรึกษาเภสัชกรพิจารณาการใช้ยาทาสิว เช่น Benzyl peroxide และยาแต้มสิวอักเสบ เช่น clindamycin การปรับพฤติกรรมประจำวัน การใช้ skincare เครื่องสำอางค์ ต่างๆ ประมาณ 1 เดือน หากยังไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์


สิวปานกลางถึงรุนแรง ประเมินด้วยตนเองง่ายๆ คือ ถ้ามีหนึ่งในต่อไปนี้*


  • สิวตุ่มหนองเล็กๆ > 10 เม็ด
  • สิวหัวช้าง > 3
  • สิวเริ่มทิ้งแผลเป็นหลุม หรือ ตุ่มนูนแข็ง (acne scar)


สามารถดูคร่าวๆ ไม่จำเป็นต้องนับเป๊ะๆหรือรอให้ครบจำนวน เนื่องการแบ่งความรุนแรงสิวมีหลายคำแนะนำ(guideline) หากรู้สึกว่าเริ่มมากเกินปกติที่เคยมี แนะนำ พบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการรักษา เพราะอาจมีภาวะคล้ายสิว (acne mimicker) รวมทั้งสิวบางประเภทอาจทิ้งรอยดำแดง หรือ หลุมสิวไว้ ซึ่งทำให้การรักษายากขึ้น



reference:

  • Dermatological society of Thailand
  • Guidelines of care for the management of acne vulgaris. J Am Acad Dermatol. Articles in press. Published online: January 30, 2024.



เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy